ความเป็นมาและสภาพสังคม ของ หาน เฟย์ จื่อ

ระบบศักดินาแห่งโจว (周朝) ปกครองด้วย สองหลักการคือ หลี่ (礼) และ สิง (刑) หลี่คือจรรยามารยาท สิงคือโทษทัณฑ์ หลี่ เป็นระบบกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ใช้วิธีชมเชยและประณามมาควบคุมความประพฤติของพวกชนชั้นผู้ดี (จวินจื่อ 君子) หรือวิญญูชนสิง ใช้ควบคุมความประพฤติของสามัญชน คนชั้นเลว (ชู่เหริน 庶人,เสี่ยวเหริน 小人) ซึ่งจะมีโทษทัณฑ์ 5 วิธี (五刑) ของจีนโบราณ

โทษทัณฑ์ 5 วิธีของจีนโบราณ

  1. การสักหมึก
  2. การตัดจมูก
  3. การตัดขา
  4. การทำลายอวัยวะเพศ
  5. การประหารชีวิต

สมัยนั้น (โจว) ใช้สองหลักการนี้ได้ผล เพราะสังคมไม่ซับซ้อน ชนชั้นสูงสัมพันธ์ใกล้ชิดกันทางสายเลือด หากมีปัญหาก็ใช้สัญญาสุภาพชน (君子协定) ที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งสามารถสรุปด้วยสำนวนจีนที่ว่า "礼不下庶人,刑不上大夫" หมายความว่า หลักจรรยามารยาท ไม่เคยลงสู่เบื้องล่าง หลักโทษทัณฑ์ ไม่เคยขึ้นสู่เบื้องบน

ความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับกษัตริย์

กษัตริย์กับประชาชนมิได้ติดต่อกันโดยตรง กษัตริย์จะปกครองผ่านขุนนาง ขุนนางจะต้องควบคุมความเรียบร้อยของประชาชนในอาณาบริเวณของตน (ความสัมพันธ์ส่วนตัวจึงถือเป็นเรื่องใหญ่ในสังคม) ซึ่งในหลายศตวรรษต่อมา ความแตกต่างระหว่างชนชั้น เริ่มมีมากขึ้น และเส้นแบ่งระหว่างชนชั้นสูงกับชนชั้นสามัญชนก็ได้สลายไป สภาพเช่นนี้ ทำให้เกิดปัญหาที่แตกต่างไปจากเดิม ปัญหาเช่นนี้เจั้นครรัฐต่าง ๆ ก็ได้ประสบพบกันถ้วนหน้า และนักคิดนักปรัชญาต่าง ๆ ก็ได้รู้เห็น จึงทำให้สำนักปรัชญาต่าง ๆ ตั้งแต่ ขงจื้อ (孔子) เรื่อยลงมาก็พยายามเสนอแนวทางการแก้ไข

แนวความคิดที่นำเสนอส่วนใหญ่ เป็นอุดมคติและห่างไกลจากสิ่งที่พบเจอ เพราะสิ่งที่ผู้ปกครองต้องการไม่ใช่อุดมการณ์ แต่เป็นวิธีการ หรือกลไก ที่จำนำมาแก้ปัญหาได้จริง ๆ และก็มีคนกลุ่มนึงที่เข้าใจสภาพการณ์เช่นนี้ เหล่าผู้ปกครองจึงต้องนำคนเหล่านี้มาให้คำปรึกษาและคอยแก้ปัญหาให้ตน ซึ่งคนที่มาเป็นกุนซือให้กับผู้ปกครองเหล่านี้เรียกว่า นักวางกลยุทธ์ (ฝ่าซู่จือซื่อ 法术之士)

นักวางกลยุทธ์เหล่านี้มีแนวคิดว่ากษํตริย์ ไม่จำเป็นต้องเป็นอริยปราชญ์หรือยอดมนุษย์ ขอเพียงแค่ปฏิบัติตามอุบายยอย่างซื่อตรง แม้แต่คนที่มีปัญญาปานกลางก็ปกครองบ้านเมืองได้แล้ว และปกครองได้ดีด้วย มีกุนซือบางกลุ่ม ได้พัฒนาอุบายความคิดของพวกเขาจนเกิดเป็นทฤษฏี และอธิบายถ่ายทอดความคิดออกมา ในที่สุดก็กลายเป็นปรัชญาความคิดของสำนักนิตินิยม หรือฝ่าเจีย (法家)

แนวคิดที่มีต่อประวัติศาสตร์

นักปรัชญาตั้งแต่ขงจื่อเป็นต้นมา ทุกท่านล้วนตึ้งอยู่บนทฤษฏี "ประวัติศาสตร์เสื่อมถอย" คือมุมมองที่คิดว่ายุคทองของมนุษย์ชาตินั้นได้ล่วงเลยมาแล้วซึ่งอยู่ในประวัติศาสตร์หรืออดีต กล่าวคือประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุบันเป็นความเคลื่อนไหวที่เสื่อมถอยลงไปเรื่อย ๆ ดังนั้นทางรอดของมนุษย์คือการหวนย้อนกลับไปสู่ยุคทองเหล่านั้น ไม่จำเป็นต้องสร้างอะไรใหม่ ๆ ซึ่งนิตินิยมไม่เห็นด้วยกับแนวคิดนี้ สำหรับหาน เฟย์ คิดว่า แต่โบราณ มนุษย์ซื่อบริสุทธิ เรียบง่ายมีคุณธรรม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขทางวัตถุ มิใช่เพราะมีคุณธรรมสูงส่ง หาน เฟย์ ยังกล่าวว่า "เมื่อคนครั้งอดีตโบราณกาลไม่ค่อยให้ค่าแก่ข้าวของเครื่องใช้ หาใช่เพราะมนุษยธรรมที่พวกเขามี แต่เป็นเพราะข้าวของที่เหลือกินเหลือใช้ ในทำนองเดียวกันเมื่อผู้คนต่างเบาะแว้งกันและแย่งชิงฉกฉวยข้าวของในทุกวันนี้ ก็มิใช่เพราะความชั่วร้ายแต่เนื่องว่าข้าวของเริ่มขาดแคลน"

มีตัวอย่างนิทานเรื่องนึงของหาน เฟย์ จื่อที่ถ่ายทองความคิดของเขาได้เป็นอย่างดี"มีชาวนาผู้หนึ่งแห่งแคว้นซังเมื่อครั้งอดีตซึ่งตัดแผ้วถางที่เพื่อเตรียมทำไร่ และในที่ดินแห่งนั้นมีตอไม้อยู่ ในวันหนึ่งกระต่ายวิ่งข้ามเข้ามาในทุ่ง ชนเข้ากับตอไม้นั้นจนคอหักตาย จากนั้นมาเขาก็วางพลั่วลงและเฝ้าจ้องมองตอไม้ด้วยหวังว่าจะได้กระต่ายอีกจากความตายของกระต่ายในลักษณะเดิม กระนั้นก็ไม่มีกระต่ายตัวใดหลงเข้ามาตายในลักษณะนั้นอีก เรื่องราวของเขากลับกลายเป็นเรื่องขำขันสำหรับชาวแคว้นซังไป"เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า อริยปราชญ์ไม่คิดเอาแต่ทำตามระบบโบราณ ไม่จำเป็นต้องเอาอย่างตัวอย่างเก่า ๆ ควรดูสภาพสังคมปัจจุบัน และคิดหามาตรการมาจัดการให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ โดยสรุปว่าระบบโบราณมีปัญหาคือ

  • เป็นเพียงอุดมคติ เลื่อนลอยไร้แก่นสาร เหมือนวาดผี
  • ตีความได้มากมาย ไม่แน่นอน
  • เมื่อนำมาปฏิบัติ อาจไม่เหมาะกับสภาพการณ์เฉพาะหน้า
  • แม้อาจจะมีเหตุผล แต่ก็นำมาปฏิบัติไม่ได้ เหมือนม้าขาวที่ไม่ใช่ม้า แต่ก็เป็นม้า